คลอรีน (Chlorine) เป็นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง จัดอยู่ในกลุ่มฮาโลเจน (กลุ่ม O) ในตารางธาตุ เป็นสารที่นำไปใช้ประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ตลอดจนสาธารณสุข และที่เห็นได้ชัดเจน คือ การนำมาเป็นสารในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ของขบวนการผลิต น้ำดื่ม-น้ำ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม, ฟาร์มเลี้ยงปศุสัตว์, ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ, ในตลาดสด และในครัวเรือน รวมทั้งใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งต่าง ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสระว่ายน้ำคลอรีน คืออะไร? คลอรีน (Chlorine) เป็นสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูง จัดอยู่ในกลุ่มฮาโลเจน (กลุ่ม O) ในตารางธาตุ เป็นสารที่นำไปใช้ประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ตลอดจนสาธารณสุข และที่เห็นได้ชัดเจน คือ การนำมาเป็นสารในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ของขบวนการผลิต น้ำดื่ม-น้ำ ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม, ฟาร์มเลี้ยงปศุสัตว์, ฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ, ในตลาดสด และในครัวเรือน รวมทั้งใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งต่าง ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสระว่ายน้ำ
“คลอรีน” ที่ใช้โดยทั่วไป แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ
- คลอรีนที่มาในรูปแบบก๊าซ
- คลอรีนที่มาในรูปแบบน้ำ ได้แก่ โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (คลอรีนน้ำ), คลอรีนเหลว (Liquid Chlorine) และน้ำยาฟอกขาว (Liquid Calcium Hypo)
- คลอรีนที่มาในรูปแบบของแข็ง ได้แก่ แคลเซียมไฮโปคลอไรท์, โซเดียมไดคลอโร ไอโซไซยานูเรท (DCCNa) และไตรคลอโรไอโซไซยานูริค แอซิด (Trichloroisocyanuric Acid)
ประโยชน์และโทษของสารคลอรีน
- คลอรีน ถือว่าเป็นสารที่มีมีปลอดภัยสูง เพราะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้น้ำใสสะอาดปลอดเชื้อ และสามารถสลายตัวได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ต้องใส่ในปริมาณที่เหมาะสม
- หากใช้ในปริมาณที่มากเกินอัตราส่วนที่กำหนด อาจเป็นอันตรายต่ออวัยวะของร่างกายได้ เช่น ตา จมูก ผิวหนัง เมื่อถูกคลอรีนจะอักเสบและบวมพอง ถ้าสูดดมเข้าไปจะทำให้เกิดอาการอึดอัด หายใจไม่สะดวก เจ็บคอ แน่นหน้าอก ถ้าได้รับสารปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้
- ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระดาษ ทำยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทำสีผสมอาหาร ยาฆ่าแมลง สี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พลาสติก เวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมสิ่งทอต่าง ๆ เป็นต้น
- ใช้ในทางอินทรีย์เคมี ใช้ธาตุนี้ทำปฏิกิริยาออกซิเดชันและทำปฏิกิริยาแทนที่ เพราะคลอรีนมีคุณสมบัติเคมีที่ต้องการในสารประกอบอินทรีย์ เมื่อเข้าไปแทนที่ ไฮโดรเจน (ในการผลิต ยางสังเคราะห์)
- ใช้ในการผลิตคลอเรต (chlorates) เช่น คลอโรฟอร์ม (chloroform) คาร์บอน เตตระคลอไรด์ (carbon tetrachloride) และใชในการสกัดโบรมีน (Bromine)
การใช้งานคลอรีน- ก่อนใช้ต้องอ่านฉลากข้างภาชนะบรรจุ และปฎิบัติตามวิธีการใช้อย่างเคร่งครัด
- ห้ามกลิ้งหรือโยนภาชนะบรรจุโดยเด็ดขาด
- การตักคลอรีนจากภาชนะบรรจุ ต้องใช้พลั่วพลาสติกที่แห้งและสะอาด
- ระวังอย่าให้คลอรีนสัมผัสกับกรดหรือด่าง วัตถุไวไฟ และเคมีภัณฑ์อื่น ๆ เพราะอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง
- ห้ามทำการละลายคลอรีน โดยการเทน้ำใส่เพราะอาจเกิดการระเบิดได้
- ขณะใช้ควรสวมแว่นตา ถุงมือ และชุดป้องกันอย่างรัดกุม
- กรณีถูกไฟไหม้ คลอรีนจะปล่อยก๊าซออกซิเจน ดังนั้น ต้องใช้เครื่องดับเพลิงที่ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือผงเคมีในการดับ เท่านั้น
การเก็บรักษา- เก็บในภาชนะทีปิดสนิทมิดชิด และห่างจากสารที่ลุกไหม้ได้
- เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ไม่โดนแสงแดด และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
การปฐมพยาบาลหากได้รับอันตราย- ถ้าสารเข้าตาหรือสัมผัสผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากๆอย่างน้อย 15 นาที กำจัดเสื้อผ้าที่เปื้อนสาร แล้วนำส่งแพทย์
- กรณีสูดดมสาร ให้รีบนำตัวสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ แล้วนำส่งแพทย์โดยทันที
- กรณีกลืนกินสาร ถ้าผู้ป่วยยังมีสติ ให้ดื่มน้ำมาก ๆ แล้วตามด้วยน้ำมันพืช หากมีการอาเจียนให้ดื่มน้ำมาก ๆ แล้วนำส่งแพทย์ทันที ถ้าผู้ป่วยหมดสติ อย่าให้รับประทานสิ่งใด และห้ามทำให้อาเจียนโดยเด็ดขาด ให้รีบนำส่งแพทย์โดยเร็วที่สุด
ขอขอบคุณบทความจาก marumothai.com